วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

การ์ดจอคืออะไร

การ์ดจอคืออะไร
การ์ดจอ (Video Card) เป็นคำเก่าที่ใช้เรียก การ์ดแสดงผล  หรือ กราฟฟิกการ์ด (Graphic card) จริง ๆ คือการ์ดเดียวกันคะ เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลของซีพียูมาแสดงบนจอภาพ แปรเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของตัวอักษร หรือ รูปภาพ ทำให้ผู้ใช้ สามารถควบคุมการทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยจอภาพจะเป็นส่วนที่รับข้อมูลจากการ์ดแสดงผลอีกทีหนึ่ง  เพราะฉะนั้นทั้งการ์ดแสดงผลและจอภาพจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ภาพออกมาแสดงบนจอภาพ  จอภาพจะต้องสนับสนุนความสามารถที่การ์ดแสดงผลสามารถทำได้
                                         

จานดาวเทียมคืออะไร

จานดาวเทียมคืออะไร 
จานดาวเทียม คือ วัตถุที่ทำด้วยโลหะ ไฟเบอร์ อลูมิเนียม ที่มีคุณสมบัติในการสะท้อนสัญญาณคลื่นไมโครเวฟที่ส่งมาจากนอกโลก โดยดาวเทียมเป็นผู้ส่งมา แต่ดาวเทียม ก็รับสัญญาณจากสถานีดาวเทียมบนพื้นโลกอีกที 
คนที่ติดจานดาวเทียม ใช้เพื่อวัตถุประสงค์หลากหลาย เช่น รับ-ส่งข้อมูล ดิจิตอลต่างๆ หรือนำมาใช้เพื่อรับข้อมูลภาพและเสียง หรือ ทีวี 
                                             

โปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ดหมายถึงอะไร

Microsoft Word เป็นโปรแกรมที่นิยมนำมาใช้สร้าง จดหมาย รายงาน บันทึกข้อมูล และตารางข้อมูล นอกจากนี้ยังสามารถในการจัดการกับเอกสารพิเศษในรูปแบบอื่น ๆ เช่น เว็บเพจ แผ่นพับ โบรชัวร์ ด้วยความสามารถรอบตัว ใช้งานง่าย ประกอบกับมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการจัดรูปแบบเอกสารมากมาย จึงทำให้ Microsoft Word เป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยม
                                           

Wi-Fi คืออะไร

 Wi-Fi คืออะไร
การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย เหมือนกับระบบแล ( LAN ) ที่ใช้สายปกติ แตกต่างที่อุปกรณ์ทางกายภาพในการเชื่อมต่อเครือข่ายไม่ต้องใช้สายสัญญาณแต่ อย่างใด โดยการใช้งานเครือข่ายไร้สายสามารถใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เหมือนเครือข่ายมีสายได้ปกติ เว้นแต่ว่าผู้ดูแลระบบเครือข่ายนั้นๆ จะปิดบริการบางบริการเพื่อความปลอดภัยของเครือข่ายได้เช่นกัน ซึ่งการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายช่วยให้การเชื่อมต่อง่ายขึ้น ประหยัดค่าสายสัญญาณและใช้งานได้ทุกที่ ที่มีสัญญาณเครือข่ายไร้สายไปถึง
                                                 

LCD คืออะไร

LCD (Liquid crystal display) หรือจอภาพแอลซีดี  คือ จอแสดงผลแบบ (Digital ) ที่ใช้วัตถุที่เป็นผลึกเหลว (liquid crystal) แทนการใช้หลอดภาพในจอซีอาร์ที และใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ในการผลิตแสงสว่าง จึงทำให้จอภาพแอลซีดีใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่าจอแบบซีอาร์ทีประมาณหนึ่งในสามเลยคะ  โดยภาพที่ปรากฏขึ้นเกิดจากแสงที่ถูกปล่อยออกมาจากหลอดไฟด้านหลังของจอภาพ (Black Light) ผ่านชั้นกรองแสง (Polarized filter) แล้ววิ่งไปยัง คริสตัลเหลวที่เรียงตัวด้วยกัน 3 เซลล์คือ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีนํ้าเงิน กลายเป็นพิกเซล (Pixel) ที่สว่างสดใสเกิดขึ้น                           

                                                

Router คืออะไร

Router คืออะไร
     Router คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายอย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าแปลความหมายคำว่า Route ก็คือ ถนน นั่นเอง ดังนั้น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วย Router ทำให้เราสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้มากกว่าหนึ่งเครื่องในเวลาเดียวกัน ซึ่ง Router นั้นจะมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานเรียกว่า Internetwork Operating System (IOS) และตัว Router จะมีช่องที่ใช้เสียบต่อสายสัญญาณเรียกว่า Port LAN ซึ่งโดยทั่วไปมักมี 4 Ports หรือมากกว่า ใน Router 1 ตัว 

Router คืออะไร เราเตอร์ คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อเครืออย่างหนึ่ง
    
     หน้าที่หลักของ Router คือการหาเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูลที่ดีที่สุด และเป็นตัวกลางในการส่งต่อข้อมูลไปยังเครือข่ายอื่น ทั้งนี้ Router สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายที่ใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ไม่ว่าจะเป็น Ethernet, Token Rink หรือ FDDI ทั้งๆที่ในแต่ละระบบจะมี packet เป็นรูปแบบของตนเองซึ่งแตกต่างกัน โดยโปรโตคอลที่ทำงานในระดับบนหรือ Layer 3 ขึ้นไปเช่น IP, IPX หรือ AppleTalk เมื่อมีการส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น packet ในรูปแบบของ Layer 2 คือ Data Link Layer เมื่อ Router ได้รับข้อมูลมาก็จะตรวจดูใน packet เพื่อจะทราบว่าใช้โปรโตคอลแบบใด จากนั้นก็จะตรวจดูเส้นทางส่งข้อมูลจากตาราง Routing Table ว่าจะต้องส่งข้อมูลนี้ไปยังเครือข่ายใดจึงจะต่อไปถึงปลายทางได้ แล้วจึงบรรจุข้อมูลลงเป็น Packet ของ Data Link Layer ที่ถูกต้องอีกครั้ง เพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายปลายทาง

Router คืออะไร เราเตอร์ คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อเครืออย่างหนึ่ง

คุณสมบัติของ Router  
1.ทำหน้าที่คล้าย Swich ทำให้เชื่อมต่อได้หลายเครื่องพร้อมกัน
2.บางรุ่นรองรับการทำงาน Wire หรือ Wireless 
3.เป็น ADSL Modem ในตัว (เฉพาะบางรุ่นเท่านั้น)
4.Firewall /IPsec VPN (รองรับการเชื่อมต่อทางไกลแบบมี security)
5.Antivirus (รุ่นใหม่ๆ ของ Router บางรุ่น จะมี antivirus program ฝังอยู่ด้วย)

AGPS คืออะไร

AGPS คืออะไร
      ความเป็นมาของ AGPS
        ความเป็นมาของ AGPS เกิดจาก ในการคำนวนตำแหน่ง ของอุปกรณ์ GPS นั้น จะต้องอาศัยข้อมูล 3 อย่าง ในการคำนวนหาตำแหน่งของเครื่องรับ GPS บนพื้นโลก
1.   ข้อมูลวงโคจร
2.   เวลาปัจจุบัน
3.   ระยะเวลาในการเดินทางของสัญญาณ GPS จาก ดาวเทียมมาสู่เครื่องรับ GPS
        เนื่องจากได้มาซึ่งข้อมูลทั้ง 3 อย่างจากดาวเทียม GPS อย่างน้อย 3 ดวง จากสัญญาณ GPS ตรงๆ นั้น มีข้อจำกัดอยู่หลายประการณ์ เช่น
1.   ใช้เวลานาน ในการหาตำแหน่ง: การรับสัญญาณ GPS ของอุปกรณ์รับ GPS จะสามารถ synchronize(เชื่อมต่อข้อมูล GPS) ได้สมบูรณ์ โดยเฉพาะ ข้อมูลวงโคจร ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญและมีขนาดใหญ่ การรับสัญญาณ GPS ครั้งแรก ประมาณ 30 วินาที ในกรณี ไม่มีการเคลื่อนที่ หากมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาก็จะใช้เวลามากกว่านั้นมาก
2.   สัญญาณ GPS ที่มาถึงโลกอ่อนและถูกบดบังได้ง่าย : สัญญาณ GPS สามารถถูกบดบังได้ง่ายจากโลหะ ทำให้จำเป็นต้องให้อุปกรณ์ GPS เห็นท้องฟ้า คือต้องอยู่ในที่โล่งแจ้ง จึงจะสามารถรับสัญญาณ GPS ได้ดี ซึ่งหากอยู่ในที่มีการบดบัง เช่น เขตอาคารสูง ก็จะเกิดอาหาร Miltipath ซึ่งทำให้เกิดอาการกระโดดไปมาของการแสดงตำแหน่ง
3.   สิ้นเปลืองพลังงาน: การที่จะให้ได้ตำแหน่งที่ต่อเนื่อง จำเป็นต้องเปิด Synchonize ดาวเทียมตลอดเวลา ซึ่งทำให้มีปัญหาพลังงานไม่เพียงพออยู่บ่อยครั้ง เพราะ Chipset GPS จะกินพลังงานอยู่ ที่ 80-20 mA ซึ่งถือว่ามากสำหรับ Battery ลูกเล็กๆ ของโทรศัพท์มือถือ
 
        จากปัญหาดังกล่าว จึงมีการค้นคิดหาวิธีที่จะทำให้ GPS สามารถทำงานได้เร็วขึ้นและสิ้นเปลืองพลังงานน้อยลง ประกอบกับเทคโลยี ด้านการสื่อสารของโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีความเร็วมากขึ้นและการมีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทำให้มีการพัฒนาจาก GPS ทั่วไป มาเป็น A-GPS โดยหลักการ ในการแก้ปัญหาขั้นต้น 

RAM (แรม) คืออะไร

RAM (แรม) ย่อมาจาก Random Access Memory
RAM คือหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ มีความสำคัญมากต่อประสิทธิภาพการทำงานและความเร็วในการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่รับข้อมูลและชุดคำสั่งของโปรแกรมต่างๆ เพื่อส่งไปให้ CPU (Central Processing Unit) ซึ่งเปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ให้ประมวลผลข้อมูลตามต้องการ ก่อนจะแสดงผลการประมวลที่ได้ออกมาทางหน้าจอแสดงผล (Monitor) นั่นเอง
RAM จะทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ ทั้งในแบบของ Input และ Output โดยการเข้าถึงข้อมูลของ RAM นั้น จะเป็นการเข้าถึงแบบสุ่ม หรือ Random Access ซึ่งหมายถึงโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงทุกๆส่วนของหน่วยความจำหรือพื้นที่เก็บข้อมูลได้โดยตรง เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานและการรับ-ส่งข้อมูล
                                         

MODEM คืออะไร

โมเด็ม (MODEM)


      - โมเด็ม เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแปลงข้อมูลดิจิตอล ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก เพื่อให้สามารถส่งผ่านสื่อกลางประเภทอนาล็อกได้

สัญญาณอนาล็อก

สัญญาณอนาล็อก


                   สัญญาณอนาล็อก (Analog Signal) เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (sine wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้ผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ ตัวอย่างของการส่งข้อมูลที่มีสัญญาณแบบอนาล็อก คือ การส่งผ่านระบบโทรศัพท์
                    สัญญาณอนาล็อก เป็นสัญญาณที่มักเกิดขึ้นในธรรมชาติเป็นสัญญาณที่มีความต่อเนื่อง ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สัญญาณแบบนี้ เช่น เสียงพูด เสียงดนตรี เป็นต้น
                                        

CPU คืออะไร



CPU คืออะไร

CPU หรือ Central Processing Unit คือหัวใจหลักในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จึงขาดซีพียูไม่ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์
กลไกการทำงานของซีพียู
การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่ หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
ประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียู หรือ ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) นั้นขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู
โปรแกรมที่ไว้ตรวจสอบแสดงรายะละเอียด อุปกรณ์ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ CPU-Z
                        

Android(แอนดรอยด์) คืออะไร?

Android(แอนดรอยด์
ก็คือระบบปฏิบัติการ (Operating System หรือ
OS)  สำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บแล็ต เน็ตบุ๊ก     ซึ่งถูกผลิตโดยบริษัทกูเกิล ( Google
) อย่างง่ายๆ ให้เราลองนึกถึง คอมพิวเตอร์ที่บ้านค่ะ  บ้างก็ใช้ Windows 7, Windows Vista,  Windows XP, หรือบางบ้านก็อาจใช้  Linux ซึ่งจะเป็น Linux
รุ่นไหนก็ว่ากันไป … Windows หรือ Linux
เราเรียกมันว่า ระบบปฏิบัติการ(OS) ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าถ้าคอมพิวเตอร์ไม่ลง
Windows ก็จะเปิดเครื่องเพื่อทำงานไม่ได้  โทรศัพท์มือถือ SmartPhone ก็เช่นเดียวกันค่ะ มันต้องการ OS ซึ่งใน iPhone
นั้นบริษัทแอปเปิ้ลใช้ OS ที่ชื่อว่า iPhone
OS ค่ะ ในขณะที่บริษัท
กูเกิ้ล(Google) บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งวงการไอที
ก็ได้ซุ่มพัฒนา 
OS
ที่มีชื่อว่า 
Android (แอนดรอยด์) OS ขึ้นมา
ซึ่ง 
Android (แอนดรอยด์) เวอร์ชั่น 
1.0 ได้ถูกปล่อยออกมาใช้งานอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่28 กันยายน 2551